ธ ๑ | พยัญชนะตัวที่ ๒๔ เป็นพวกอักษรตํ่า และใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด |
| ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น สุเมธ มคธ. |
|
|
ธ ๒ | [ทะ] (กลอน) ส. ท่าน, เธอ, เช่น ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัย, |
| เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. |
|
|
ธง | น. ผืนผ้าโดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทําด้วย |
| กระดาษและสิ่งอื่น ๆ ก็มี สําหรับ (๑) ใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ |
| ตําแหน่งในราชการ โดยมีกําหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพ |
| นายกอง. (๒) ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอก |
| ที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจํานนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, |
| ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, |
| ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย. (๓) ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล |
| คณะ สมาคม อาคารการค้า และอื่น ๆ. (๔) ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ. |
| (๕) ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริงหรือถือเข้ากระบวนแห่ |
| เป็นต้น; ชื่อดาวหมู่หนึ่งตามที่กล่าวว่า โน่นดาวธงตรงหน้าอาชาไนย. |
| (อภัย); ชื่อคันเบ็ดที่ปักประจําล่อปลา, กิริยาที่เอาเบ็ดนั้นไปปักเรียกว่า |
| ธง; ข้อความที่อธิบายนําไว้เป็นตัวอย่าง. |
| ธงกระบี่ธุช ดู กระบี่ธุช ที่ กระบี่ ๑. |
| ธงครุฑพ่าห์ ดู ครุฑพ่าห์ ที่ ครุฑ. |
| ธงจระเข้ น. ธงผืนผ้ามีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัด |
| แสดงว่าทอดกฐินแล้ว. |
| ธงฉาน (กฎ) น. ธงที่มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่ตรงกลางของผืนธง |
| มีรูปจักร ๘ แฉกแฉกของจักรเวียนไปทางซ้ายและมีสมอสอดวงจักรภายใต้ |
| พระมหามงกุฎ รูปเหล่านี้เป็นสีเหลือง เป็นธงที่ใช้ในเรือพระที่นั่งและเรือ |
| หลวง หรือเป็นธงสําหรับหน่วยทหารเรือที่ยกพลขึ้นบก ซึ่งหน่วยทหารนั้น |
| ไม่ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล; (โบ) ธงนํากระบวนกองชนะ มี |
| ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม. |
| ธงชัย ๑ น. ธงซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะ. |
| ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีเหลืองรูปสี่เหลี่ยม มี |
| ภาพครุฑที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอดเรียวแหลมคร่ำทอง |
| ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลักเป็นภาพครุฑจับนาค |
| จำนวน ๔ กาบ มีหางนกยูงผูกเป็นแพนเสียบที่กาบ, ใช้เชิญนำกระบวน |
| พยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ |
| เข้าคู่กับ ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย หรือ ธงชัยราชกระบี่ยุทธ โดยธงชัย |
| พระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา และธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยหรือธงชัย |
| ราชกระบี่ยุทธอยู่ทางด้านซ้าย. |
| ธงชัยราชกระบี่ธุช, ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ดู กระบี่ธุช ที่ กระบี่ ๑. |
| ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีแดงรูปสี่เหลี่ยม มี |
| ภาพพระกระบี่คือหนุมานที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอด |
| เรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลัก |
| เป็นภาพหนุมานจำนวน ๔ กาบมีหางนกยูงเป็นแพนเสียบที่แผ่นกาบ มี |
| อีกชื่อหนึ่งว่า ธงชัยราชกระบี่ยุทธ, ใช้เชิญนำกระบวนพยุหยาตราและ |
| อัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับ |
| ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยโดยธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยอยู่ทางด้านซ้าย |
| และธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา. |
| ธงชัยราชกระบี่ยุทธ ดู ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย ที่ ธง. |
| ธงชาติ ๑ น. ธงที่มีความหมายถึงประเทศและชาติใดชาติหนึ่ง. |
| ธงชาติ ๒, ธงชาติไทย (กฎ) น. ธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยและ |
| ชาติไทย มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วน |
| ด้านกว้างแบ่งเป็น ๕ แถบตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบ |
| สีนํ้าเงินแก่ กว้าง ๒ ส่วน ต่อจากแถบสีนํ้าเงินแก่ออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็น |
| แถบสีขาวกว้างข้างละ ๑ ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็น |
| แถบสีแดงกว้างข้างละ ๑ ส่วน ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ''ธงไตรรงค์''. |
| ธงชาย น. ธงรูปสามเหลี่ยม ใช้ในกองทัพบก. |
| ธงตะขาบ น. ธงชนิดหนึ่งทำด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกันไปเป็นพืด |
| มีไม้สอดระหว่างชิ้นทำให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาดกว้างยาวตาม |
| ต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา. |
| (รูปภาพ ธงตะขาบ) |
| ธงไตรรงค์ น. ธงชาติไทย. |
| ธงทิว, ธงเทียว น. ธงที่มีรูปลักษณะคล้ายกระบอก. |
| ธงนำริ้ว น. ธงรูปสามเหลี่ยม ใช้นําริ้วกระบวนต่าง ๆ; ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง |
| มีตัวอย่างว่า กุ๋ยกุ๋ยหน้าไม่เก้อละเมอหึง ฟังฟังก็เหมือนแกล้งแพร่งความอึง |
| คิดคิดและให้ขึ้งขุ่นเคืองใจ. |
| ธงบรมราชวงศ์น้อย (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี |
| แบ่งตามความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียว |
| กับตอนต้นของธงบรมราชวงศ์ใหญ่แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร |
| ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีแดงแปลงเป็นรูปธงยาวเรียว โดยให้ |
| ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของธงตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนก |
| แซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธง |
| เป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงบรมราชวงศ์ |
| ใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคํานับ. |
| ธงบรมราชวงศ์ใหญ่ (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี มี |
| ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน พื้นธงสีเหลือง |
| ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาว |
| ของผืนธง ที่ตรงกลางตอนต้น ๒ ใน ๓ ส่วนของผืนธงเป็นรูปสี่เหลี่ยม |
| จัตุรัสสีขาบ มีขนาดกว้างยาวครึ่งหนึ่งของความกว้างของผืนธง ภายใน |
| รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาบมีรูปมงกุฎขัตติยราชนารีประดิษฐานบนพาน |
| แว่นฟ้า ๒ ชั้นเหนือตั่ง และมีตั่งลดตั้งฉัตรกลีบบัว ๕ ชั้น อยู่ ๒ ข้าง |
| รูปเหล่านี้เป็นสีเหลืองเข้ม. |
| ธงพระครุฑพ่าห์, ธงชัยพระครุฑพ่าห์, ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่ ดู |
| ครุฑพ่าห์ ที่ ครุฑ. |
| ธงมหาราชน้อย (กฎ) น. ธงสําหรับองค์พระมหากษัตริย์ แบ่งตามความ |
| ยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงมหาราชใหญ่ |
| แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลง |
| เป็นรูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัด |
| เป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง |
| ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้น |
| แทนธงมหาราชใหญ่ หมายความว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งด |
| การยิงสลุตถวายคํานับ. |
| ธงมหาราชใหญ่ (กฎ) น. ธงสําหรับองค์พระมหากษัตริย์ มีลักษณะเป็นรูป |
| สี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นธงสีเหลือง มีรูปพระครุฑพ่าห์สีแดงอยู่ตรงกลาง. |
| ธงเยาวราชน้อย (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระยุพราช แบ่งความยาว |
| ออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงเยาวราชใหญ่ แต่ |
| กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลงเป็น |
| รูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัดเป็น |
| แฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาว |
| ของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธง |
| เยาวราชใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคํานับ. |
| ธงเยาวราชใหญ่ (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระยุพราช มีลักษณะเป็น |
| รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นธงมี ๒ สี รอบนอกสีขาบ รอบในสีเหลืองกว้างยาว |
| ครึ่งหนึ่งของรอบนอก มีรูปพระครุฑพ่าห์สีแดงอยู่ตรงกลาง. |
| ธงราชินีน้อย (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระราชินี มีลักษณะและสี |
| อย่างเดียวกับธงมหาราชน้อย เว้นแต่ชายต่อเป็นสีแดง ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทน |
| ธงราชินีใหญ่ หมายความว่าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุต |
| ถวายคํานับ. |
| ธงราชินีใหญ่ (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระราชินี มีลักษณะเป็นรูป |
| สี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน พื้นธงสีเหลือง ตอนต้น ๒ ใน |
| ๓ ส่วนของความยาวของผืนธงเหมือนธงมหาราชใหญ่ ตอนปลายตัดเป็น |
| แฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาวของผืนธง. |
| ธงสามชาย น. ธงรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ปลายธงมี ๓ แฉก เป็น ๓ ชาย |
| ลดหลั่นกัน มักใช้นำริ้วกระบวน ถ้าใช้เข้ากระบวนแห่ในพระราชพิธี ผืน |
| ธงทำด้วยผ้าสักหลาดสอดสีปักดิ้นหักทองขวางเป็นลวดลาย. |
| ธงสามเหลี่ยม น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์กฤติกา มี ๘ ดวง, ดาวกฤตติกา |
| ดาวกัตติกา หรือ ดาวลูกไก่ ก็เรียก. |
| ธงหางแซงแซว น. เรียกสิ่งเช่นธงที่มีรูปเป็นแฉกเหมือนหางนกแซงแซว. |
|
|
ธงก์ | (แบบ) น. กา (นก). (ป.). |
|
|
ธงชัย ๑ | ดูใน ธง. |
|
|
ธงชัย ๒ | น. กาลโยคอย่างหนึ่งในโหราศาสตร์ คือ เวลาประกอบด้วยโชคคราวชนะ |
| เข้าไปถึงที่ซึ่งศัตรูจะตั้งอยู่ไม่ได้. |
|
|
ธชะ | (แบบ) น. ธง. (ป.). |
|
|
ธชี | [ทะ] น. พราหมณ์, นักบวช. (ป.; ส. ธฺวชินฺ ว่า ผู้ถือธง, พราหมณ์). |
|
|
ธตรฐ | [ทะตะรด] น. ชื่อท้าวจาตุมหาราชองค์หนึ่ง ประจําทิศบูรพา. |
|
|
ธน, ธน- | [ทน, ทะนะ] น. ทรัพย์สิน. (ป., ส.). |
| ธนธานี [ทะนะ] น. สถานที่เก็บพัสดุมีค่า, คลัง, ที่เก็บสินค้า. (ป., ส.). |
| ธนบดี [ทะนะบอ] น. เจ้าของทรัพย์, เศรษฐีผู้มีทรัพย์เป็นทุน, นายทุน. |
| (ส. ธนปติ ว่า เจ้าแห่งทรัพย์ คือ พระอินทร์, ท้าวกุเวร). |
| ธนบัตร [ทะนะบัด] (กฎ) น. บัตรที่ออกใช้เป็นเงินตรา ซึ่งใช้ชําระหนี้ได้ |
| ตามกฎหมายโดยไม่จํากัดจํานวน. (ส. ธน + ปตฺร). |
| ธนบัตรย่อย น. ธนบัตรที่ราคาน้อยกว่าฉบับที่มีราคามากกว่า, แบงก์ย่อย |
| ก็ว่า. |
| ธนสมบัติ [ทะนะสมบัด] น. การถึงพร้อมแห่งทรัพย์, ทรัพย์สมบัติ. (ป.). |
| ธนสาร [ทะนะสาน] น. ทรัพย์สมบัติที่เป็นแก่นสาร, ทรัพย์สมบัติ. (ป.). |
| ธนัง (แบบ; กลอน) น. ทรัพย์สิน เช่น มันก็ไม่รู้มั่งที่จะให้เกิดทุนธนัง. |
| (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
| ธนาคาร น. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย บริษัทจํากัด หรือ บริษัท |
| มหาชนจํากัด ที่ใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อว่า ธนาคาร ซึ่งประกอบธุรกิจ |
| เกี่ยวกับเงินและธุรกิจหลักทรัพย์. (ป. ธน + อคาร). |
| ธนาคารพาณิชย์ (กฎ) น. ธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภท |
| รับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกําหนดไว้ และ |
| ใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น ให้สินเชื่อ ซื้อขายตั๋ว |
| แลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ และ |
| หมายความรวมถึงสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบ |
| ธุรกิจดังกล่าวด้วย. |
| ธนาคารเลือด น. สถานที่เก็บรักษาเลือดไว้ เพื่อบริการแก่ผู้ป่วย. |
| ธนาคารโลก น. คําสามัญเรียกธนาคารระหว่างประเทศเพื่อบูรณะและ |
| วิวัฒนาการ ซึ่งทําหน้าที่ให้กู้ยืมเงินแก่ประเทศที่เป็นสมาชิกของธนาคาร |
| เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศของตนและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ |
| ธนาคารนี้ไม่รับฝากเงิน. |
| ธนาคารออมสิน (กฎ) น. ธนาคารที่ตั้งขึ้นเพื่อรับฝากเงินออมสิน ออก |
| พันธบัตรออมสินและสลากออมสิน รับฝากเงินออมสินเพื่อสงเคราะห์ |
| ชีวิตและครอบครัว ทําการรับจ่ายและโอนเงิน ซื้อหรือขายพันธบัตร |
| รัฐบาลไทย ลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง |
| การคลังอนุญาต การออมสินอื่น ๆ หรือกิจการอันเป็นงานธนาคาร |
| ตามที่พระราชกฤษฎีกากําหนดไว้ และให้ประกอบได้ตามข้อกําหนด |
| และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง. |
| ธนาณัติ น. การส่งเงินทางไปรษณีย์ โดยวิธีผู้ส่งมอบเงินไว้ยังที่ทําการ |
| ไปรษณีย์แห่งหนึ่งแล้วเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ออกตราสารสั่งให้ที่ทําการ |
| ไปรษณีย์อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินให้แก่ผู้รับ; (กฎ) ตราสารซึ่งที่ทําการไปรษณีย์ |
| แห่งหนึ่งสั่งให้ที่ทําการไปรษณีย์อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงิน. (ป. ธน + อาณตฺติ). |
| ธเนศ, ธเนศวร [ทะเนด, ทะเนสวน] (แบบ) น. เจ้าแห่งทรัพย์, คนมั่งมี; |
| ท้าวกุเวร. (ส.). |
| ธโนปจัย [ทะโนปะไจ] (แบบ) น. การสะสมทรัพย์. (ส.). |
| ธไนศวรรย์ [ทะไนสะหฺวัน] (แบบ) น. อิสรภาพเหนือทรัพย์. (ส. ธน + |
| ไอศฺวรฺย). |
|
|
ธนัง | ดู ธน, ธน-. |
|
|
ธนาคม | (แบบ; กลอน) น. การมาแห่งกําไร, กําไร. (ส.). |
|
|
ธนาคาร | ดู ธน, ธน-. |
|
|
ธนาคารพาณิชย์ | ดู ธน, ธน-. |
|
|
ธนาคารโลก | ดู ธน, ธน-. |
|
|
ธนาคารออมสิน | ดู ธน, ธน-. |
|
|
ธนาณัติ | ดู ธน, ธน-. |
|
|
ธนิต | ว. หนัก, เสียงพยัญชนะบางประเภทที่เปล่งเสียงพร้อมกับมีกลุ่มลมออกมา |
| ในภาษาไทยได้แก่เสียง พ ท ค ช ฮ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ |
| สันสกฤตที่มีเสียงหนักว่า พยัญชนะธนิต ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๒ และ ๔ |
| ของวรรค. (ป.). |
|
|
ธนิษฐะ, ธนิษฐา | น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๓ มี ๔ ดวง เห็นเป็นรูปกา, ดาวศรวิษฐา ดาวเศรษฐี หรือ |
| ดาวไซ ก็เรียก. |
|
|
ธนุ, ธนุรญ | (แบบ) น. ธนู. (ป.). |
| ธนุรมารค [ทะนุระมาก] น. ทางโค้งเหมือนธนู. (ส.). |
| ธนุรวิทยา, ธนุรเวท [ทะนุระ] น. วิชายิงธนูและการใช้อาวุธอื่น ๆ. |
| (ส.). (ดู อุปเวทประกอบ). |
|
|
ธนู | ชื่ออาวุธชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันธนูซึ่งมีสายธนูสำหรับน้าวยิง และ |
| ลูกธนูที่มีปลายแหลม; ชื่อกลุ่มดาวรูปธนู เรียกว่า ราศีธนู เป็นราศีที่ ๘ |
| ในจักรราศี; ชื่อดาวฤกษ์อนุราธา. (ป. ธนุ). |
| ธนูศิลป์ น. ฝีมือยิงธนู, การฝึกหัดยิงธนู. (ส.). |
|
|
ธเนศ, ธเนศวร | ดู ธน, ธน-. |
|
|
ธโนปจัย | ดู ธน, ธน-. |
|
|
ธไนศวรรย์ | ดู ธน, ธน-. |
|
|
ธม | ว. ใหญ่, หลวง, เช่น นครธม. (ข. ธม). |
|
|
ธมกรก | [ทะมะกะหฺรก] น. กระบอกกรองนํ้าของพระสงฆ์ เป็นเครื่องใช้สอย ๑ |
| อย่างในอัฐบริขาร; เครื่องกรองนํ้าด้วยลมเป่า; กระบอกก้นหุ้มผ้า. (ป.). |
|
|
ธร | [ทอน] น. การยึดไว้, การถือไว้, การทรงไว้, การมีไว้; ผู้รักษาไว้, ผู้ทรงไว้, |
| มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น วิชาธร วินัยธร. (ป.; ส. ธฺฤ). |
|
|
ธรง | [ทฺรง] (โบ; เลิก) ก. ทรง. (สามดวง). |
|
|
ธรณ, ธรณะ | [ทอน, ทอระนะ] (แบบ) น. การถือไว้, การทรงไว้, การยึดไว้. (ป., ส.). |
|
|
ธรณิน | [ทอระ] (กลอน) น. ธรณี, แผ่นดิน, เช่น กึกก้องสะเทือนธรณิน. (ลอ). |
|
|
ธรณินทร์ | [ทอระนิน] (กลอน) น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.). |
|
|
ธรณิศ, ธรณิศร, ธรณิศวร์ | [ทอระนิด] (กลอน) น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.). |
|
|
ธรณี | [ทอระนี] น. แผ่นดิน เช่น ธรณีสูบ, พื้นแผ่นดิน เช่น ธรณีวิทยา, โลก เช่น |
| นางในธรณีไม่มีเหมือน. (ป., ส.). |
| ธรณีกันแสง น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง, ธรณีร้องไห้ หรือ พสุธากันแสง |
| ก็ว่า. |
| ธรณีประตู น. ไม้รองรับกรอบล่างของประตู มีรูครกสําหรับรับเดือยบาน |
| ประตู และมีรูสําหรับลงลิ่มหรือลงกลอน เช่น ธรณีประตูโบสถ์, ปัจจุบัน |
| เรียกไม้กรอบล่างประตูว่า ธรณีประตู. |
| ธรณีมณฑล น. ลูกโลก. (ส.). |
| ธรณีร้องไห้ น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง, ธรณีกันแสง หรือ พสุธากันแสง |
| ก็ว่า. |
| ธรณีวิทยา น. วิชาว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับประวัติ โครงสร้าง และสภาพ |
| ของโลก. |
| ธรณีศวร น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน. (ส. ธรณี + อิศฺวร). |
| ธรณีสงฆ์ น. ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด. |
| ธรณีสาร ๑ น. เสนียดจัญไร, เรียกคนที่มีลักษณะซึมเซาง่วงเหงาหาวนอน |
| อยู่เสมอว่า คนต้องธรณีสาร. |
| ธรณีสูบ ก. อาการที่แผ่นดินแยกออกทำให้คนที่ทำบาปกรรมอย่างยิ่งตกลง |
| หายไป แล้วแผ่นดินก็กลับเป็นอย่างเดิม เป็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนา |
| ว่า ธรรมชาติจะลงโทษคนที่ทำบาปหนักนั้นเอง โดยผู้อื่นไม่ต้องลงโทษ. |
|
|
ธรณีสาร ๑ | ดูใน ธรณี. |
|
|
ธรณีสาร ๒ | น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Phyllanthus pulcher Wall. ex Muell. Arg. |
| ในวงศ์ Euphorbiaceae ลําต้นตรง ใช้ทํายาได้, ว่านธรณีสาร ก็เรียก. |
|
|
ธรมาน | [ทอระมาน] (แบบ) ว. ยังดํารงชีวิตอยู่. (ป.). |
|
|
ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ | [ทํา, ทํามะ] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม; |
| คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า; |
| หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม; |
| ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม; ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น |
| ความเป็นธรรมในสังคม; กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ; |
| กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ; สิ่งทั้งหลาย, สิ่งของ, เช่น |
| เครื่องไทยธรรม. (ส. ธรฺม; ป. ธมฺม). |
| ธรรมกถา น. การกล่าวธรรม, ถ้อยคําที่เป็นธรรม. (ส.; ป. ธมฺมกถา). |
| ธรรมกถึก น. เรียกพระที่เป็นนักเทศน์ผู้แสดงธรรมว่า พระธรรมกถึก. |
| (ป. ธมฺมกถิก). |
| ธรรมกาม น. ผู้ใคร่ธรรม, ผู้นิยมในยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมกาม). |
| ธรรมกาย น. กายคือธรรม ได้แก่ พระมหากรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ |
| และพระบริสุทธิคุณ; พระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า ตามคติมหายาน |
| เชื่อว่า ได้แก่พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า. (ส.; ป. ธมฺมกาย). |
| ธรรมการ น. กิจการทางศาสนา. |
| ธรรมการย์ น. กิจอันเป็นธรรม, การกุศล, หน้าที่อันสมควร. |
| ธรรมเกษตร น. แดนธรรม; คนมีใจกรุณา. (ส.). |
| ธรรมขันธ์ น. หมวดธรรม, กองธรรม, ข้อธรรม, (กําหนดข้อธรรมใน |
| พระไตรปิฎกว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์). (ส. ธรฺม + ป. ขนฺธ). |
| ธรรมคุณ น. ชื่อบทแสดงคุณของพระธรรม มีบาลีขึ้นต้นว่า สฺวากฺขาโต |
| และลงท้ายว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ. (ส.; ป. ธมฺมคุณ). |
| ธรรมจรณะ, ธรรมจรรยา น. การประพฤติถูกธรรม. (ส.). |
| ธรรมจริยา น. การประพฤติเป็นธรรม, การประพฤติถูกธรรม. (ส. ธรฺม + |
| ป. จริยา). |
| ธรรมจักร น. ชื่อปฐมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระเบญจวัคคีย์ |
| เรียกเต็มว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร; แดนธรรม; เครื่องหมายทาง |
| พระพุทธศาสนา เป็นรูปวงล้อมี ๘ ซี่บ้าง ๑๒ ซี่บ้าง. (ส.). |
| ธรรมจักษุ น. ดวงตาคือปัญญาที่รู้เห็นธรรม. (ส.). |
| ธรรมจาคะ น. การละธรรม, การละเมิดศาสนา, การทิ้งศาสนา. (ส. ธรฺม + |
| ป. จาค). |
| ธรรมจารี น. ผู้ประพฤติธรรม. (ป. ธมฺมจารี; ส. ธรฺมจารินฺ). |
| ธรรมจินดา น. การพิจารณาธรรม. |
| ธรรมเจดีย์ น. เจดีย์ที่บรรจุพระธรรมที่มักจารลงบนใบลาน, คัมภีร์ที่จารึก |
| พระธรรม เช่น พระไตรปิฎก. |
| ธรรมชาติ น. สิ่งที่เกิดมีและเป็นอยู่ตามธรรมดาของสิ่งนั้น ๆ, ภาพ |
| ภูมิประเทศ. ว. ที่เป็นไปเองโดยมิได้ปรุงแต่ง เช่น สีธรรมชาติ. |
| ธรรมฐิติ น. การตั้งอยู่แห่งสิ่งที่เป็นเอง. (ป. ธมฺม??ติ). |
| ธรรมดา น. อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ เช่น การกิน การถ่ายเท |
| การสืบพันธุ์ และการเสื่อมสลาย. ว. สามัญ, พื้น ๆ, ปรกติ, เช่น เป็นเรื่อง |
| ธรรมดา. (ส. ธรฺมตา; ป. ธมฺมตา). |
| ธรรมทรรศนะ น. ความเห็นชัดเจนในธรรม. (ส.). |
| ธรรมธาดา น. ผู้ทรงธรรม เช่น สมเด็จพระบรมธรรมธาดามหาสัตว์. |
| (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). |
| ธรรมธาตุ น. ธรรมารมณ์. (ส.; ป. ธมฺมธาตุ). |
| ธรรมนาถ น. ผู้รักษากฎหมาย. (ส.). |
| ธรรมนิตย์ น. ผู้เที่ยงธรรม. (ส.). |
| ธรรมนิยม น. ความประพฤติที่มีธรรมเป็นที่ตั้ง. |
| ธรรมนิยาม น. ความแน่นอนแห่งธรรมดา คือ พระไตรลักษณ์. (ส.; ป. |
| ธมฺมนิยาม). |
| ธรรมนิเวศ น. การเข้าประพฤติธรรม, การเข้าศาสนา. |
| ธรรมนูญ (กฎ) น. กฎหมายที่จัดระเบียบองค์กร เช่น ธรรมนูญศาลทหาร |
| พระธรรมนูญศาลยุติธรรม. |
| ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร (กฎ) น. กฎหมายที่จัดระเบียบการ |
| ปกครองประเทศในระหว่างที่ยังไม่มีรัฐธรรมนูญ. |
| ธรรมเนียม [ทํา] น. ประเพณี, แบบแผน, แบบอย่าง. |
| ธรรมเนียมประเพณี น. ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญ ถ้าฝ่าฝืน |
| ก็ไม่ถือว่าผิดหรือชั่ว. |
| ธรรมบท น. ข้อแห่งธรรม, ชื่อคาถาบาลีคัมภีร์หนึ่งในขุทกนิกาย. |
| ธรรมบาล น. ผู้รักษาธรรม, ผู้ป้องกันพระศาสนา. (ส.; ป. ธมฺมปาล). |
| ธรรมบิฐ น. ธรรมาสน์. (ป. ธมฺม + ปี?). |
| ธรรมปฏิรูป, ธรรมประติรูป น. ธรรมเทียม, สิ่งที่ไม่ใช่ธรรมแท้. |
| ธรรมปฏิสัมภิทา น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา |
| ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง |
| ปัญญาอันแตกฉานในธรรม คือ ความเข้าใจสาวหาเหตุในหนหลัง, ความ |
| เข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้น ๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้. (ป.). |
| ธรรมยุต น. ชื่อพระสงฆ์นิกายหนึ่ง, คู่กับมหานิกาย, ธรรมยุติกนิกาย |
| ก็เรียก. |
| ธรรมยุทธ์ น. การรบกันในทางธรรม คือ รบกันในทางแข่งขันสร้างสิ่งใด |
| สิ่งหนึ่ง ถ้าใครสร้างได้แล้วก่อนก็ชนะ. (ส.). |
| ธรรมรัตน์ น. แก้วคือธรรม. (ส.; ป. ธมฺมรตน). |
| ธรรมราชา น. พระราชาแห่งธรรม คือ พระพุทธเจ้า, พระราชาผู้ทรงธรรม, |
| พญายม. |
| ธรรมวัตร น. ลักษณะเทศน์ทํานองธรรมดาอย่างหนึ่งที่แสดงอยู่ทั่วไป |
| ไม่ใช่ทํานองแบบเทศน์มหาชาติ. |
| ธรรมศาสตร์ (โบ) น. ความรู้เกี่ยวกับวิชากฎหมายโดยทั่วไป; คัมภีร์ |
| กฎหมายเก่าของอินเดีย, คัมภีร์อันเป็นต้นกําเนิดแห่งกฎหมาย, |
| พระธรรมศาสตร์ ก็เรียก. |
| ธรรมสถิติ น. ความตั้งอยู่โดยธรรมดา, ความตั้งอยู่แห่งกฎ, ความตั้งอยู่ |
| แห่งยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺม??ติ). |
| ธรรมสภา น. ที่ประชุมฟังธรรม. (ส.; ป. ธมฺมสภา). |
| ธรรมสรีระ น. ร่างหรือที่บรรจุธรรม, เจดีย์ศักดิ์สิทธิ์. |
| ธรรมสังคีติ น. การสังคายนาธรรม, การร้อยกรองธรรม. (ส. ธรฺม + สํคีติ; |
| ป. ธมฺมสงฺคีติ). |
| ธรรมสังเวช น. ความสังเวชโดยธรรม เมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร |
| (เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์). (ป. ธมฺมสํเวค). |
| ธรรมสากัจฉา น. การสนทนาธรรม. (ป. ธมฺมสากจฺฉา). |
| ธรรมสามิสร [สามิด] น. ผู้เป็นใหญ่ด้วยความเป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า. |
| ธรรมสามี น. ผู้เป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า. (ป. ธมฺมสามิ). |
| ธรรมสาร น. สาระแห่งธรรม, แก่นธรรม. |
| ธรรมะธัมโม ว. เรียกคนที่เคร่งครัดในศาสนาว่า คนธรรมะธัมโม. |
| ธรรมันเตวาสิก [ทํามัน] น. อันเตวาสิก (ศิษย์) ผู้เรียนธรรมวินัย. |
| (ส.; ป. ธมฺมนฺเตวาสิก). |
| ธรรมาทิตย์ [ทํามา] น. อาทิตย์แห่งธรรม คือพระพุทธเจ้า. (ส.). |
| ธรรมาธรรม [ทํามา] น. ธรรมและอธรรม, ความถูกและความผิด, |
| ยุติธรรมและอยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมาธมฺม). |
| ธรรมาธิปไตย [ทํามาทิปะไต, ทํามาทิบปะไต] น. การถือธรรมเป็นใหญ่, |
| การถือความถูกต้องเป็นหลัก. (ป. ธมฺมาธิปเตยฺย; ส. ธรฺมาธิปตฺย). |
| ธรรมาธิษฐาน [ทํามาทิดถาน, ทำมาทิดสะถาน] ว. มีธรรมเป็นที่ตั้ง ที่ยก |
| หลักธรรมหรือสิ่งที่เป็นนามธรรมล้วน ๆ ขึ้นมาอ้างหรืออธิบาย. |
| (ส.; ป. ธมฺมาธิฏฺ?าน). |
| ธรรมานุธรรมปฏิบัติ [ทํามา] น. การประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม, |
| การประพฤติความดีสมควรแก่ฐานะ. |
| ธรรมานุสาร [ทํามา] น. ความถูกตามธรรม, ทางหรือวิธีแห่งความยุติธรรม, |
| ความระลึกตามธรรม. (ส.; ป. ธมฺมานุสาร). |
| ธรรมาภิมุข [ทํามา] ว. หันหน้าเฉพาะธรรม, มุ่งแต่ยุติธรรม. (ส.; ป. |
| ธมฺมาภิมุข). |
| ธรรมาภิสมัย [ทํามา] น. การตรัสรู้ธรรม, การสําเร็จมรรคผล. (ส.; ป. |
| ธมฺมาภิสมย). |
| ธรรมายตนะ [ทํามายะตะนะ] น. แดนคือธรรมารมณ์, แดนแห่งมนัสคือใจ |
| ได้แก่อารมณ์ที่ใจรู้ หรือเรื่องที่ใจรู้. (ป. ธมฺมายตน). |
| ธรรมารมณ์ [ทํามา] น. อารมณ์ที่ใจรู้, อารมณ์ที่เกิดทางใจ. (ป. ธมฺมารมฺมณ). |
| ธรรมาสน์ [ทํามาด] น. ที่สําหรับพระภิกษุสามเณรนั่งแสดงธรรม. (ส.). |
| ธรรมิก, ธรรมิก [ทํามิก, ทํามิกกะ] ว. ประกอบในธรรม, ประพฤติเป็น |
| ธรรม, ทรงธรรม, เช่น ธรรมิกราช สหธรรมิก. (ส.; ป. ธมฺมิก). |
|
|
ธรรม ๒ | คําประกอบท้ายคําที่เป็นนามธรรม เมื่อประกอบแล้วมีความหมายไม่ต่างไป |
| จากคําศัพท์เดิม เช่น วัฒนธรรม อารยธรรม. |
|
|
ธรรม ๓ | น. สมณศักดิ์พระราชาคณะ สูงกว่าชั้นเทพ ตํ่ากว่าชั้นหิรัญบัฏ เรียกว่า |
| ชั้นธรรม เช่น พระธรรมโกศาจารย์ พระธรรมเจดีย์. |
|
|
ธรรมันเตวาสิก | ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ. |
|
|
ธรรมาทิตย์ | ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ. |
|
|
ธรรมาธรรม | ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ. |
|
|
ธรรมาธิปไตย | ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ. |
|
|
ธรรมาธิษฐาน | ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ. |
|
|
ธรรมานุธรรมปฏิบัติ | ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ. |
|
|
ธรรมานุสาร | ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ. |
|
|
ธรรมาภิมุข | ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ. |
|
|
ธรรมาภิสมัย | ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ. |
|
|
ธรรมายตนะ | ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ. |
|
|
ธรรมารมณ์ | ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ. |
|
|
ธรรมาสน์ | ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ. |
|
|
ธรรมิก, ธรรมิก- | ดู ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ. |
|
|
ธรา | [ทะรา] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ป., ส.). |
| ธราดล น. พื้นแผ่นดิน. (ป.). |
| ธราธร, ธราธาร น. ผู้ทรงโลกไว้ คือ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์. (ส.). |
| ธราธิบดี, ธราธิป น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.). |
|
|
ธริษตรี, ธเรษตรี | [ทะริดตฺรี, ทะเรดตฺรี] (แบบ; กลอน) น. โลก, แผ่นดิน, เช่น ผู้ทรงจักรคทา |
| ธริษตรี. (สมุทรโฆษ). (ส. ธริตฺรี). |
| ธเรษตรีศวร [ทะเรดตฺรีสวน] (แบบ; กลอน) น. ผู้เป็นใหญ่ในโลก เช่น |
| สายัณห์หวั่นสวาทไท้ธเรศตรี ศวรแฮ. (ตะเลงพ่าย). |
|
|
ธเรศ | [ทะเรด] น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.). |
|
|
ธวัช | [ทะวัด] น. ธง. (ส. ธฺวช). |
|
|
ธังกะ | (แบบ) น. กา, เหยี่ยว. (ป.). |
|
|
ธัช | [ทัด] (แบบ) น. ธง. (ป. ธช). |
|
|
ธัญ ๑ | [ทัน] (แบบ) ว. รุ่งเรือง, มั่งมี, มีโชค, ดี, เลิศ, เช่น ธัญลักษณ์ ว่า มีลักษณะดี. |
| (ป. ธญฺ?; ส. ธนฺย). |
|
|
ธัญ ๒, ธัญญ | [ทัน, ทันยะ] น. ข้าวเปลือก. (ป. ธญฺ?; ส. ธานฺย). |
| ธัญโกศ น. ฉางข้าว, ยุ้งข้าว. (ป. ธญฺ? + ส. โกศ). |
| ธัญเขต น. นา. (ป. ธ?ฺ?เขตฺต; ส. ธานฺยเกฺษตฺร). |
| ธัญชาติ น. คํารวมเรียกข้าวต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาลี, ในคัมภีร์ |
| อภิธานัปปทีปิกาว่ามี ๗ อย่าง คือ ๑. ข้าวไม่มีแกลบ ๒. ข้าวเปลือก |
| ๓. หญ้ากับแก้ ๔. ข้าวละมาน ๕. ลูกเดือย ๖. ข้าวแดง ๗. ข้าวฟ่าง. |
| ธัญญาหาร น. อาหารคือข้าว. (ป.). |
| ธัญดัจ น. เปลือกข้าว, แกลบ. (ป. ธญฺ?ตจ; ส. ธานฺยตฺวจ). |
| ธัญเบญจก [ทันยะเบนจก] น. ธัญชาติทั้ง ๕ ได้แก่ ๑. ศาลิ ข้าวสาลี |
| ๒. วฺรีหิ ข้าวเปลือก ๓. ศูก ลูกเดือย ๔. ศิมฺพี ถั่ว ๕. กฺษุทฺร ข้าวกษุทร. |
| (ป. ปญฺจก). |
| ธัญพืช น. พืชข้าวกล้า; พืชล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gramineae |
| เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ให้เมล็ดเป็นอาหารหลัก. (ป. ธญฺ?พีช; |
| ส. ธานฺยวีช). |
| ธัญมาส (โบ) น. มาตราตวง เท่ากับ ๗ อูกา. (ป.). |
|
|
ธัญญาหาร | ดู ธัญ ๒, ธัญ. |
|
|
ธันยา | [ทันยา] (แบบ) น. นางพี่เลี้ยง. (ส.). |
|
|
ธันยาวาท | [ทันยาวาด] น. การทําพิธีบูชาขอบคุณเทพผู้ให้ความสมบูรณ์พูนผล. (ส.). |
|
|
ธันวาคม | น. ชื่อเดือนที่ ๑๒ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน; (เลิก) |
| ชื่อเดือนที่ ๙ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ส. ธนุ + อาคม = เดือน |
| ที่อาทิตย์มาสู่ราศีธนู). |
|
|
ธัมมะ | (แบบ) น. ธรรม. (ป.; ส. ธรฺม). |
|
|
ธาดา | น. ผู้สร้าง, ผู้ทรงไว้, พระพรหมผู้สร้างตามหลักศาสนาพราหมณ์. (ป.). |
|
|
ธาตรี | [ทาตฺรี] (แบบ) น. แผ่นดิน, โลก, ในบทกลอนใช้ว่า ธาษตรี ก็มี. (ส.). |
|
|
ธาตวากร | [ทาตะวากอน] (แบบ) น. บ่อแร่. (ส.). |
|
|
ธาตุ ๑, ธาตุ- | [ทาด, ทาตุ, ทาดตุ] น. สิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสําคัญที่คุมกันเป็นร่างของ |
| สิ่งทั้งหลาย โดยทั่ว ๆ ไปเชื่อว่ามี ๔ ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุนํ้า ธาตุไฟ |
| ธาตุลม แต่ก็อาจมีธาตุอื่น ๆ อีก เช่น อากาศธาตุวิญญาณธาตุ ธาตุไม้ |
| ธาตุทอง ธาตุเหล็ก. (ป.). |
| ธาตุโขภ [ทาตุโขบ] น. ความกําเริบของธาตุ ได้แก่ธาตุทั้ง ๔ ในร่างกาย |
| ไม่ปรกติ มีอาหารเสีย เป็นต้น. (ป.). |
| ธาตุเบา [ทาด] ว. ที่กินยาระบายอ่อน ๆ ก็ถ่าย. |
| ธาตุหนัก [ทาด] ว. ที่ต้องกินยาถ่ายมาก ๆ จึงจะถ่าย. |
|
|
ธาตุ ๒ | [ทาด, ทาตุ] น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระ |
| อรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของ |
| พระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้าเป็นกระดูก |
| ของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของ |
| พระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคํานั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ |
| พระทันตธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ; ชื่อคัมภีร์ |
| ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ เช่น ธาตุกถา ธาตุปาฐ. (ป., ส.); |
| (ถิ่นอีสาน) เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว. |
| ธาตุครรภ [ทาตุคับ] น. ส่วนสําคัญของพระสถูปหรือพระปรางค์ที่บรรจุ |
| พระบรมสารีริกธาตุหรือพระธาตุไว้ภายใน, ครรภธาตุ หรือ เรือนธาตุ ก็ว่า. |
| ธาตุเจดีย์ [ทาด] น. เจดีย์บรรจุพระธาตุ. |
| ธาตุสถูป [ทาดสะถูบ] น. ธาตุเจดีย์. |
|
|
ธาตุ ๓ | [ทาด] (วิทยา) น. สารเนื้อเดียวล้วนซึ่งประกอบด้วยบรรดาอะตอมที่มี |
| โปรตอนจํานวนเดียวกันในนิวเคลียส. |
|
|
ธาตุ ๔ | [ทาด] น. รากศัพท์ของคําบาลีสันสกฤตเป็นต้น เช่น ธาตุ มาจาก ธา ธาตุ |
| สาวก มาจาก สุ ธาตุ กริยา มาจาก กฺฤ ธาตุ. |
|
|
ธาตุมมิสสา | [ทาตุมมิดสา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๓ คณะ คือ ม ภ ต คณะ |
| กับลงท้ายเป็นครุอีก ๒ พยางค์ (ตามแบบว่า ธาตุมฺมิสฺสา ยติ สา มฺภา ตคา |
| โค) ตัวอย่างว่า จักสําแดงมิตร สุจริตจิตนามขนาน บัญญัติคือสมาน สุขทุข |
| เสมอประดุจกัน. (ชุมนุมตํารากลอน). |
|
|
ธานิน | (กลอน) น. เมือง. |
| ธานินทร์ (กลอน) น. เมือง, เมืองใหญ่. |
|
|
ธานี | น. เมือง. (ป., ส.). |
|
|
ธาร ๑ | [ทาน] น. การทรงไว้, การรับไว้, การหนุน, มักใช้เป็นบทหลังสมาส เช่น |
| จุฑาธาร. (ป., ส.). |
| ธารพระกร [กอน] (ราชา) น. ไม้เท้า. |
| ธารยักษ์ น. ชื่อโรคลมอย่างหนึ่ง. |
|
|
ธาร ๒ | [ทาน] น. นํ้า, ลําธาร, ห้วย, หยาดนํ้า, ท่อนํ้า. (ตัดมาจาก ธารา). |
|
|
ธารกำนัล, ธารคำนัล | [ทาระกํานัน, คํานัน] น. ที่ชุมนุมชน, คนจํานวนมาก, เช่น ต่อหน้าธารกํานัล, |
| โบราณเขียนเป็น ทารกํานัน ก็มี. |
|
|
ธารณะ ๑ | [ทาระนะ] (แบบ) น. การทรงไว้. (ป., ส.). |
|
|
ธารณะ ๒ | [ทาระนะ] ว. ทั่วไป, ไม่เลือกหน้า. น. การตักบาตรที่ไม่เฉพาะเจาะจง |
| เรียกว่า ธารณะ. (ตัดมาจากคํา สาธารณะ). |
|
|
ธารณา | [ทาระนา] (แบบ) น. การทรงไว้. (ส.). |
| ธารณามัย (แบบ) ว. ซึ่งสําเร็จด้วยความทรงจํา. (ส.). |
|
|
ธารา ๑ | น. สายนํ้า, ลําธาร, ห้วย, หยาดนํ้า, ท่อนํ้า. (ป., ส.). |
| ธาราเคหะ น. ห้องอาบนํ้าที่มีฝักบัว. (ป.; ส. ธาราคฺฤห). |
| ธาราธิคุณ น. เกณฑ์นํ้าฝนซึ่งมากที่สุด (ของแต่ละปี). |
| ธารายนต์ น. นํ้าพุ. (ป.). |
|
|
ธารา ๒ | (แบบ) น. ชาย, ขอบ, คม (มีด). (ส.). |
|
|
ธาษตรี | [ทาดตฺรี] (กลอน) น. แผ่นดิน, โลก. (ส. ธาตฺรี). |
|
|
ธำมรงค์ | [ทํามะรง] (ราชา) น. แหวน. (เทียบ ข. ทํรง่). |
|
|
ธำรง | ก. ทรงไว้, ชูไว้. |
|
|
ธิดา | น. ลูกหญิง. (ป., ส. ธีตา). |
|
|
ธิติ | (แบบ) น. ความทรงไว้, ความมั่นคง, ปัญญา. (ป.). |
|
|
ธีร, ธีระ | [ทีระ] น. นักปราชญ์. ว. ฉลาด, ไหวพริบ, มีปัญญา, ชํานาญ. (ป.); มั่นคง, |
| แข็งแรง. (ส.). |
| ธีรภาพ น. ความมั่นคง, ความแน่นหนา. (ส.). |
| ธีรราช น. กษัตริย์ผู้เป็นปราชญ์. |
|
|
ธุช | [ทุด] น. ธง. (แผลงจาก ธช). |
|
|
ธุดงคญ, ธุดงค์ | น. องค์คุณเครื่องกําจัดกิเลส, ชื่อวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของภิกษุ มี ๑๓ |
| อย่าง เช่น การอยู่ในป่า การอยู่โคนไม้. (ป. ธูตงฺค). |
| ธุดงควัตร [ทุดงคะวัด] น. กิจอันภิกษุผู้ถือธุดงค์ควรทํา. |
| ธุดงคสมาทาน [ทุดงคะสะมาทาน] น. การถือธุดงค์. |
|
|
ธุต, ธุตตะ | [ทุด, ทุด] (แบบ) น. นักเลง. (ป. ธุตฺต). |
|
|
ธุม, ธุม- | [ทุม, ทุมะ] (แบบ) น. ควัน. (ป., ส. ธูม). |
| ธุมเกตุ [ทุมะเกด] น. ไฟ, ดาวหาง, ดาวตก, สิ่งที่เป็นหมอกเป็นควันเกิดขึ้น |
| ในอากาศผิดธรรมดา มีรูปคล้ายธงเป็นต้น. (ป., ส. ธูมเกตุ). |
| ธุมชาล [ทุมะชาน] น. ควันพลุ่งขึ้น. (ป., ส. ธูมชาล). |
| ธุมเพลิง [ทุมเพฺลิง] น. แสงสว่างที่เกิดขึ้นในอากาศผิดธรรมดา. |
| ธุมา (กลอน) น. ควัน. |
|
|
ธุมา | ดู ธุม, ธุม. |
|
|
ธุร-, ธุระ | [ทุระ] น. หน้าที่การงานที่พึงกระทํา, กิจในพระศาสนา มี ๒ อย่าง คือ |
| การเล่าเรียน เรียกว่า คันถธุระ และ การปฏิบัติทางใจ เรียกว่า วิปัสสนาธุระ; |
| (ปาก) เรื่องส่วนตัว เช่น ไม่ใช่ธุระของคุณ. (ป., ส.). |
| ธุรการ น. การจัดกิจการงานโดยส่วนรวมของแต่ละหน่วย ซึ่งมิใช่งาน |
| วิชาการ. |
| ธุรกิจ น. การงานประจําเกี่ยวกับอาชีพค้าขาย หรือกิจการอย่างอื่นที่สําคัญ |
| และที่ไม่ใช่ราชการ; (กฎ) การประกอบกิจการในทางเกษตรกรรม |
| อุตสาหกรรม หัตถกรรม พาณิชยกรรมการบริการ หรือกิจการอย่างอื่น |
| เป็นการค้า. |
|
|
ธุรำ | น. สายเครื่องหมายวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ สวมจากซ้ายไปขวา |
| เรียกว่า สายธุรํา, ธุหรํ่ายัชโญปวีต หรือ สายมงคล ก็เรียก. |
|
|
ธุลี | น. ละออง, ฝุ่น. (ป., ส. ธูลิ). |
|
|
ธุว- | [ทุวะ] (แบบ) ว. มั่น, เที่ยง. (ป.). |
| ธุวดารา น. ดาวเหนือ. |
| ธุวภาค น. เส้นแวงอันไม่เปลี่ยนที่แห่งดาวซึ่งประจําที่อยู่. |
| ธุวมณฑล น. แถบขั้วโลก. |
| ธุวยัษฎี น. เพลา (หรือเส้น) แห่งขั้วโลกทั้ง ๒. (ส. ธฺรุวยษฺฏี). |
|
|
ธูป, ธูป- | [ทูบ, ทูปะ] น. เครื่องหอมชนิดหนึ่งมีแกนทําด้วยก้านไม้ไผ่เล็ก ๆ เป็นต้น |
| ย้อมสีแดง พอกด้วยผงไม้หอม, มักใช้จุดคู่กับเทียน, ลักษณนามว่า ดอก. |
| (ป., ส.). |
| ธูปบาตร [ทูปะบาด] น. ภาชนะสําหรับเผาเครื่องหอมบูชา. (ส. ธูปปาตฺร). |
| ธูปแพเทียนแพ น. ธูปไม้ระกํากับเทียน ๔ คู่ วางเรียงกันเป็นแพ แล้วคาด |
| ด้วยริบบิ้นสี ใช้เป็นเครื่องแสดงความเคารพอย่างสูง. |
| ธูปไม้ระกำ น. ธูปที่ใช้ไม้ระกําเป็นแกน. |
|
|
ธูปฤๅษี | ดู กกช้าง. |
|
|
เธนุ | (แบบ) น. แม่โคนม. (ป., ส.). |
|
|
เธอ | ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย มักใช้ในระหว่างเพื่อนผู้หญิงด้วยกัน หรือใช้ |
| กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่า เช่นครูพูดกับศิษย์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, คําใช้แทน |
| ผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่าด้วยความยกย่องหรือเอ็นดูเป็นต้น, เป็น |
| สรรพนามบุรุษที่ ๓. |
|
|
เธียร | น. นักปราชญ์. ว. ฉลาด, มั่นคง. (ป. ธีร). |
|
|
โธ่ | อ. คําที่เปล่งออกมาด้วยความสงสารหรือรําคาญใจเป็นต้น. (ตัดมาจาก |
| พุทโธ่). |
|
|
โธวนะ | [โทวะนะ] (แบบ) น. การชําระล้าง, การซักฟอก. (ป.; ส. ธาวน). |
|
|